News

แคสเปอร์สกี้แลป เผยเทรนด์ไวรัสปี 2016 "เพิ่มเร็วขึ้น ซับซ้อนขึ้น"

PR-News

เดนิส เลเกโซ นักวิจัยด้านความปลอดภัย แคสเปอร์สกี้ แลป เผยว่า ภัยคุกคามไซเบอร์ขยับเข้ามาใกล้ตัวเรามากขึ้นเรื่อยๆ เมื่อประมาณ 20 ปีที่แล้วมีไวรัสเกิดขึ้นเพียงหนึ่งตัวต่อชั่วโมง ในปี 1994 เพิ่มขึ้นเป็นนาทีละหนึ่งตัว และในปี 2014 ที่ผ่านมา ไวรัสได้เพิ่มขึ้นอย่างรวดเร็วเป็น 325,000 ตัวต่อวัน

Denis Legezo Portrait

เดนิส เลเกโซ

โดยทั่วไปแล้ว มัลแวร์จะสามารถเข้าถึงผู้ใช้งานอินเทอร์เน็ตและองค์กรได้ 4 ช่องทางด้วยกัน คือ

  • จากการรับส่งอีเมลในชีวิตประจำวัน-การทำงาน
  • จากเว็บไซต์หลอกที่สร้างลิ้งก์ปลอมล่อลวงไปยังหน้าเว็บที่สร้างทิ้งไว้ เพื่อหลอกลวงเงิน
  • จากการใช้เครือข่ายสังคมทางออนไลน์ โดยการหลอกล่อเอาข้อมูลต่างๆ
  • จากการใช้ USB ที่มีความเสี่ยงมาเชื่อมต่ออุปกรณ์อิเล็กทรอนิกส์

นอกจากนี้สมาร์ทโฟนก็กลายเป็นอีกหนึ่งช่องทางที่ให้เหล่าผู้ฉกฉวยโอกาสเจาะช่องโหว่ของเรามาใช้ประโยชน์ ทั้งการเชื่อมต่ออินเทอร์เน็ตในที่สาธารณะเพื่อขโมยข้อมูลส่วนตัวใช้ต่อรองหรือเรียกค่าไถ่ได้ โดยกลุ่มเป้าหมายที่แคสเปอร์สกี้ แลป พบเป็นจำนวนมาก จะเป็นระบบแอนดรอยด์ เนื่องจากมีคนใช้มากกว่าระบบ iOS ของแอปเปิล สำหรับประเทศไทย จากการรายงานของกลุ่มผู้ใช้บริการแคสเปอร์สกี้ แลป พบว่ามีความเสี่ยงสูงมากถึง 30-40% เพิ่มขึ้นจากไตรมาสที่ 2 ถึง 2.2%

แนวโน้มการเติบโต

ในไตรมาสที่ 3 ของปี 2015 นี้ ประเทศไทยอยู่ในกลุ่มเสี่ยงที่มีแนวโน้มที่จะถูกจู่โจมจากมัลแวร์เพิ่มมากขึ้น โดยพบแบ้งกิ้งโทรจันที่มีทิศทางเติบโตขึ้นมาก โดยการโจมตีนี้จะเน้นไปที่ระบบของธนาคารเพราะมีการทำธุรกรรมทางออนไลน์มากขึ้น รวมทั้งยังมีมัลแวร์ที่เน้นเจาะกลุ่มความมั่นคงทางรัฐบาลเป็นหลัก เจาะจงกระทรวงกลาโหม และองค์กรระหว่างประเทศที่มีขนาดใหญ่อีกด้วย

เดนิส เปิดเผยทิศทางการจู่โจมในปี 2016 ว่า อาจจะไม่ใช่แค่การสร้างมัลแวร์เพื่อให้แพร่กระจายจากไฟล์เพียงอย่างเดียวแล้ว แต่อาจจะขยับขยายหรือเปลี่ยนรูปแบบเป็นหน่วยความจำหรือเมมโมรี่ (แรม) แทน เนื่องจากโดยปกติแล้ว เมมโมรี่เป็นส่วนที่ตรวจสอบยาก เพราะมีการใช้งานแบบฉับพลัน ใช้เสร็จก็จะลบความจำนั้นๆออกไป ทำให้การซ่อนตัวและการตรวจจับทำได้ยากกว่าการตรวจสอบจากไฟล์

ในขณะเดียวกันแรนซัมแวร์ (Ransomware) หรือมัลแวร์เรียกค่าไถ่ก็มีการเปลี่ยนแปลงรูปแบบการทำงานเช่นกัน โดยสามารถเจาะข้อมูลได้ผ่านทางระบบปฏิบัติการมือถือ การใช้ธนาคารออนไลน์ นอกเหนือจากนี้ยังมีแนวโน้มที่เจ้าแรนซัมนี้จะจู่โจมระบบรถยนต์ และอุปกรณ์อิเล็กทรอนิกส์อย่างอื่นที่เชื่อมต่อแบบไร้สาย เช่น ตู้เย็น ทีวี เป็นต้น สำหรับในประเทศไทยพบแรนซัมแวร์จำนวน 28% ซึ่งถือว่ายังมีปริมาณน้อยกว่าประเทศอื่นๆ

การป้องกัน

เดนิสแนะนำทิ้งท้ายว่า การเติบโตของเหล่ามัลแวร์มีมากขึ้นเรื่อยๆ ทั้งนี้ยังมีการพัฒนาตัวเองให้มีหน้าตาคล้ายกับรูปแบบงานที่เราใช้ในชีวิตประจำวัน ทำให้ยากต่อการตรวจจับและค้นหา ดังนั้นผู้ใช้บริการจึงควรศึกษาความรู้อยู่สม่ำเสมอ เพื่ออัพเดทวิธีการโจมตีและวิธีการป้องกัน เช่นเดียวกันกับองค์กรต่างๆ ที่ควรให้ความรู้ความเข้าใจแก่พนักงานอยู่ตลอดเวลา เพื่อลดปัญหาซึ่งอาจจะเกิดจากความรู้เท่าไม่ถึงการณ์ เช่น กดคลิกเข้าไฟล์หรือเว็บไซต์ต่างๆ ได้โดยไม่รู้ตัว

วิธีหนึ่งสำหรับผู้ใช้คือการงดใช้ไวไฟสาธารณะ เพื่อป้องกันการถูกลักลอบขโมยข้อมูล หรือวิธีที่ง่ายๆคือการปกป้องอุปกรณ์ต่างๆ ด้วยการอัพเดทโปรแกรมสแกนไวรัสให้ทันสมัยอยู่เสมอ และอย่าลืมใช้โปรแกรมที่มีลิขสิทธิ์เพื่อที่จะจัดการไวรัสตัวร้ายให้ได้อย่างอยู่หมัดโดยไม่ต้องกังวลใจอีกต่อไป

About author

A software developer who likes journalism
Related posts
News

Blackmagic ปล่อยแอปถ่ายวิดีโอแบบโปรบน iPhone พร้อมใช้ได้ฟรี

News

โปร 9.9 OnePlus Nord 3 เหลือไม่ถึง 15,000

News

เปิดตัว iPhone 14 ใหม่ 4 รุ่น ราคาเริ่ม 32,900 เชื่อมดาวเทียมได้ รุ่น Pro กล้อง 48 MP

News

หลุดภาพเครื่องเล่นเกมพกพาจาก Logitech และ Tencent