เหตุการณ์ลอบวางระเบิดที่กรุงบรัสเซลส์ ประเทศเบลเยี่ยม เมื่อช่วงบ่ายที่ผ่านมาตามเวลาในประเทศไทย (22 มีนาคม) ทำให้มีผู้คนติดต่อกันผ่านระบบมือถือเป็นจำนวนมากจนระบบล่มและใช้การไม่ได้ ผู้คนบนโซเชียลมีเดียต่างๆ จึงแนะนำให้ติดต่อกันผ่านโซเชียลเน็ตเวิร์คแทน

FB_Safety_Check_Brussels

นอกจากนี้เฟซบุ๊กยังได้เปิดใช้งานฟีเจอร์ Safety Check ในเหตุการณ์ดังกล่าวสำหรับเช็คว่าเพื่อนเราอยู่ในพื้นที่เสี่ยงหรือไม่ และคนที่อยู่ในพื้นที่ก็สามารถแจ้งได้ว่าตนเองอยู่ในพื้นที่ที่ได้รับผลกระทบและปลอดภัยดีหรือไม่

ภัยพิบัติและเหตุการณ์รุนแรงต่างๆ มักทำลายระบบโทรศัพท์ทั้งมือถือและพื้นฐาน หรือหากไม่ทำลายก็จะมีการใช้งานในปริมาณมหาศาลเกิดขึ้น ผลที่ตามมาคือระบบล่ม ผู้คนจึงต้องย้ายไปใช้ช่องทางการติดต่อผ่านอินเทอร์เน็ตที่รองรับปริมาณข้อมูลได้มากกว่าและรวดเร็วกว่า

ตัวอย่างของเทคโนโลยีที่สร้างขึ้นมาทดแทนโครงสร้างระบบสาธารณูปโภคที่เสียหายก็เช่นแอพ LINE ที่ถูกสร้างขึ้นมาโดยบริษัทโทรคมนาคม NHN Japan สามเดือนให้หลังของเหตุการณ์สีนามิที่ญี่ปุ่นเมื่อปี 2554 และมีผู้ใช้มากถึง 50 ล้านคนในเวลาไม่ถึงหนึ่งปี

เทคโนโลยีนั้นมีทั้งด้านดีและด้านเสียเสมอ ในยามที่เกิดเหตุการณ์ยากลำบากต่างๆ จึงมีการหยิบเทคโนโลยีขึ้นมาใช้มากมาย และเราจะเห็นว่าเทคโนโลยีทั้งหลายที่มนุษย์สร้างสรรค์ขึ้นมาสามารถช่วยชีวิตผู้คนได้มากมายขนาดไหน ซึ่งตรงกับจุดประสงค์ของการสร้างเทคโนโลยีที่ว่าเป็นการช่วยและอำนวยความสะดวกให้แก่ผู้คน เทคโนโลยีเหล่านี้กลายมาเป็นสิ่งจำเป็นที่เราใช้ในการจัดการกับสถานการณ์เช่นนี้

ล่าสุด

หมวดหมู่